พระบรมศาสดาทรงปรารภพระธนุคคหติสสเถระ ผู้ฉลาดในการจัดขบวนรบ เป็นเหตุให้พระเจ้าปเสนทิ โกศลจับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ จึงทรงนําเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าว่า
ในอดีตกาล มีพญาเสือโคร่งตัวหนึ่ง ฆ่าสุกรเป็นอาหารทุกวัน ตัจฉกสุกรเป็นผู้ฉลาดในการรบ จึงออกอุบายจัดแจงขบวนรบ โดยแบ่งกองกําลังเป็นพวกๆ ล้อมกันและกันไว้ และขุดหลุมไว้ดักเสือโคร่ง เมื่อเสือโคร่งมาถึง เห็นพวกสุกรพากันตั้งเป็นพวกๆ ทํากิริยาเลียนแบบตนทุกอย่าง วางตัวเป็นศัตรู ไม่หลบซ่อนเหมือนวันก่อนๆ เสือโคร่งกลัวตายจึงกลับไปหาชฏิลโกง ฝ่ายชฏิลโกงปรารถนาจะกินเนื้อสุกร จึงยุให้เสือโคร่งอาจหาญ เปลี่ยนใจย้อนกลับไปใหม่ เสือโคร่ง กระโจนใส่ตัจฉกสุกร ตัจฉกสุกรหลอกล่อจนเสือโคร่งตกลงไปในหลุม แล้วพากันฆ่าเสือโคร่งได้
จากนั้น จึงไปฆ่าชฏิลโกง ชฏิลโกงหนีขึ้นต้นมะเดื่อ พวกสุกรพากันขวิดรากโดยรอบจนต้นมะเดื่อโค่นลงชฏิลโกงจึงตกลงมา
พวกสุกรพากันรุมฆ่าชฏิลโกงแล้วอภิเษกตัจฉกสุกรให้เป็นราชาแห่งสุกรทั้งหลาย
รุกขเทวดาเห็นเหตุอัศจรรย์นั้นจึงกล่าวคาถาว่า
" ญาติทั้งหลายมีมากด้วยกัน ย่อมทําประโยชน์ให้สําเร็จ ถึงต้นไม้ทั้งหลายที่เกิดในป่าก็เหมือนกัน สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันฆ่าเสือโคร่งเสียได้ เพราะประพฤติร่วมใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน "
พระบรมศาสดาตรัสสรุปชาดกว่า
ชฏิลโกงในครั้งนั้นได้มาเป็นพระเทวทัต
ตัจฉสุกรได้มาเป็นพระ ธนุคคหติสสะ
ส่วนรุกขเทวดาคือเราตถาคต
ที่มา: หนังสือดรรชนีธรรมฉบับมงคลสูตร